Click and drag
to move panorama

Zoom in / Zoom out

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลปพีระศรี อนุสรณ์

preview map
preview map
preview map
preview map
preview map
preview map
preview map
preview map

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลปพีระศรี

ความเป็นครูควบคู่กับศิลปิน “เราจำอาจารย์เลยลมครั้งแรกได้จากการที่มายืมสีขาว ในห้องสอบเข้าจิตรกรรม” อาจารย์อาร์ตเล่าย้อนไปถึง พ.ศ. 2549 ที่พวกเขาทั้งคู่ก้าวเท้าเข้ามาเป็นนักศึกษาภาควิชาจิตรกรรมพร้อมกัน “นี่ถ้าไม่ได้สีอาจารย์อาร์ต อาจจะไม่ได้เรียน” อาจารย์เลยลมหัวเราะ พวกเขาบอกว่า มิวเซียมนี้ไม่ได้เปลี่ยนไปมากจากภาพจำของพวกเขาเท่าไร กล่าวคือ เป็นห้องจัดแสดงเล็กๆ 2 ห้อง ที่ทำให้ศิษย์รุ่นหลังของมหาวิทยาลัยได้รู้จักใกล้ชิดกับอาจารย์ศิลป์ แม้ว่าจะไม่เคยได้เรียนกับท่านโดยตรง
ในห้องแรกเป็นห้องเวิร์กช็อปของอาจารย์ศิลป์ที่ถูกจัดเป็นแกลเลอรี่แสดงทั้งผลงานของอาจารย์เอง และผลงานของลูกศิษย์ที่อาจารย์ สะสมไว้ เช่น เฟื้อ หริพิทักษ์, ชลูด นิ่มเสมอ, เขียน ยิ้มศิริ ฯลฯ “ตั้งแต่แวบแรกเราจะเห็นความเป็นยุโรป โดยเฉพาะงานปั้นแบบ Bust (รูปปั้นจากศีรษะถึงหน้าอก) ที่เป็นเอกลักษณ์ของความคลาสสิก มาแต่ไหนแต่ไร”
ในช่วงแรกที่นายคอร์ราโด เฟโรชี เข้ามารับราชการในไทย ด้วยอายุเพียง 32 ปี แถมยังเป็นชาวต่างชาติ จึงยังมีผู้ดูแคลนท่านอยู่ จนได้สมเด็จครู (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์) ที่ทรงมองเห็นอัจฉริยภาพของนายช่างจากฟลอเรนซ์คนนี้ จึงทรงสั่งให้ปั้นรูปเหมือนท่าน นายเฟโรชี จึงปั้นพระรูปครึ่งพระองค์ เปลือยพระศอมาจนถึงพระอุระ ถือเป็นมาสเตอร์พีซชิ้นแรกๆ ที่กระจายชื่อของท่านไปในวงเจ้านายสยาม
สไตล์การเรียนแบบอะคาเดมี ใน พ.ศ. 2488 สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงและประเทศอิตาลีอยู่ฝั่งผู้แพ้สงคราม หลวงวิจิตรวาทการ จึงทำเรื่องขอโอนสัญชาติและเปลี่ยนชื่อศาสตราจารย์คอร์ราโด เฟโรชี เป็นคนไทยชื่อ นายศิลป์ พีระศรี อย่างไรก็ดี วิธีสอนของท่านยังคงความเป็นอะคาเดมีแบบอิตาเลียนอยู่เช่นเดิม “ในตู้เราจะเห็นเครื่องมือแต่งปูน มีด ค้อน รวมไปถึงสีน้ำและพู่กันที่นำมาจากอิตาลี สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือช่างศิลปะ แต่ยังเป็นสื่อที่จะนำประเทศไทยเข้าสู่โลกของศิลปะสมัยใหม่
ขุมทรัพย์เพื่อการเรียนรู้ กลางโถงใหญ่ของหอประติมากรรมต้นแบบ มีแบบเศียรของพระพุทธรูปปางลีลาขนาด 1:1 ที่เราพูดถึง วางให้ศึกษากันชัดๆ ล้อมรอบด้วย ต้นแบบงานปั้นอนุสาวรีย์ผลงานของอาจารย์ศิลป์และลูกศิษย์อีกมากมาย พื้นที่นี้มีประวัติย้อนไปตั้งแต่สมัยที่เคยเป็นวังของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ซึ่งเป็นที่สำหรับข้าราชการกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร เพื่อใช้ปฏิบัติงานปั้นหล่ออนุสาวรีย์สำคัญๆ เรียกว่า ‘โรงปั้นหล่อ’

จัดตั้งขึ้นตามโครงการพิพิธภัณฑ์ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ โดยความร่วมมือระหว่างบรรดาลูกศิษย์และผู้ใกล้ชิดศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เพื่อรำลึกถึงเกียรติคุณของท่านในฐานะผู้ให้กำเนิดการศึกษาศิลปะสมัยใหม่ ศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย และผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดอย่างเป็นทางการวันที่ 15 กันยายน พุทธศักราช 2527 จากนั้นจึงมอบหมายให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบและบริหารจัดการ จนกระทั่งได้รับการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ เมื่อพุทธศักราช 2530

ภายในจัดแสดงนิทรรศการถาวร โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่
ส่วนแรก ห้องชั้นนอก จัดแสดงผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ของบรรดาลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด
ส่วนที่สอง ห้องชั้นใน จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ตลอดจนแบบร่างอนุสาวรีย์และประติมากรรมชิ้นสำคัญ นอกจากนี้ยังมีหนังสือหายากซึ่งเป็นหนังสือที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ใช้สำหรับค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะตะวันตก ให้บริการแก่ผู้มาเยี่ยมชมภายในห้องจัดแสดง

บริการ

บริการนำชมเป็นหมู่คณะ (ต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม)

อัตราค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม

การติดต่อ

กรมศิลปากร ถนนหน้าพระธาตุ พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200<br>
โทรศัพท์/โทรสาร : 0-2223-6162<br>
เวลาทำการ วันจันทร์-ศุกร์ 09.00 – 16.00 น.