Click and drag
to move panorama

Zoom in / Zoom out

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์

  • ชั้น 1
  • ชั้น 2

preview map
preview map
preview map
preview map
preview map
preview map
preview map
preview map
preview map
preview map
preview map
preview map
preview map
preview map
preview map
preview map
preview map
preview map
preview map

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์

ประวัติพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป หรือที่เรียกอีกชื่อว่า หอศิลปเจ้าฟ้า ตั้งอยู่บนถนนเจ้าฟ้า เขตพระนคร ในอดีตเป็นสถานที่ตั้งพระตำหนักของเจ้านายฝ่ายวังหน้า (กรมพระราชวังบวรสถานมงคล) มาตั้งแต่ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จนเป็นที่มาของชื่อ “ถนนเจ้าฟ้า” ในปัจุบัน (ประทุม 2532 : 9)
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้สร้างโรงงานผลิตเงินเหรียญแห่งใหม่ที่มีความทันสมัยโดยเลือกพื้นที่บริเวณริมคลองคูเมืองเดิมใกล้วัดชนะสงคราม ดังนั้น จึงต้องรื้อถอนพระตำหนักของเจ้านายฝ่ายวงหน้าที่ตั้งอยู่บริเวณนี้โดยพระราชทานเงินค่ารื้อถอนและสร้างวังใหม่ให้แก่เจ้านายทุกพระองค์เพื่อก่องสร้างโรงงานผลิตเหรียญดังกล่าว ซึ่งเมื่อสร้างแล้วเสร็จได้รับ พระราชทานนามว่า “โรงกษาปณ์สิทธิการ” (ปทุม 2542 : 10)
ในวาระครบรอบ 100 ปี การพิพิธภัณฑ์ไทย (พ.ศ.2517) กรมศิลปากร ได้ริเริ่มโครงการจัดตั้ง พิพิธภัณฑสถานประเภทศิลปะสมัยใหม่ จึงได้เสนอขอใช้โรงกษาปณ์สิทธิการ เพื่อปรับปรุงให้เป็นหอศิลป ซึ่งกรมธนารักษ์ได้อนุมัติมอบหมายอาคารแห่งนี้ให้กรมศิลปากร เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2517 เพื่อจัดตั้งเป็น “หอศิลปแห่งชาติ” โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อเป็นสถานที่เก็บรวบรวมและจัดแสดงผลงานศิลปกรรมประเภททัศนศิลป์ของศิลปินผู้มีชื่อเสียงทั้งชาวไทยชาวต่างประเทศ ตลอดจนเป็นศูนย์ศึกษาวิจัยและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับศิลปกรรมทั้งแบบไทยประเพณีและร่วมสมัย (จิรา 2532 : 67-68)
พิพิธภัณฑ์ฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินินาถ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2520 จากการที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นองค์อุปถัมภกและทรงสนับสนุนส่งเสริมงานด้านศิลปกรรมไทยทุกแขนง กรมศิลปากรจึงถือโอกาสในปีอันเป็นมหามงคลครบรอบ 72 พรรษา
หอศิลป ได้ก่อตั้งมาครบรอบ 27 ปี ดำเนินการจัดพิมพ์หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าว และเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับงานศิลปกรรมประเภททัศนศิลป์ใประเทศไทย ให้แก่นักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจต่อไป หลังจากนั้นไม่นานหอศิลปแห่งชาติได้ปิดปรับปรุงและเปลี่ยนชื่อได้ตรงตามพระราชบัญญัติโบราณสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป” และเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 (ประทุม 2542 : 13-14)
ต่อมาเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2526 กรมธนารักษ์ได้มอบอาคารและที่ดินบางส่วนให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ทำให้มีพื้นที่เพิ่มมากขึ้นทั้งสามารถดำเนินการปรับปรุงขยายพื้นที่อาคารจัดแสดง เพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการแก่ศิลปินตลอดจนอำนวยความสะดวก แก่ประชาชนผู้เข้าชมได้อย่างครบถ้วนตามหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ทางศิลประดับชาติดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

โบราณวัตถุเสมือนจริง 360 องศา

เดิมเป็นอาคารโรงงานผลิตเหรียญกษาปณ์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ตามแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกยุคฟื้นฟูวิทยาการ ครั้นในวาระ “ครบ 100 ปี การพิพิธภัณฑ์ไทย” กรมศิลปากร มีโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานด้านศิลปะสมัยใหม่ กรมธนารักษ์จึงมอบอาคารหลังนี้ให้ใช้เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ โดยมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พุทธศักราช 2520 ในชื่อ “หอศิลปแห่งชาติ” จากนั้นปีพุทธศักราช 2541 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป”
ปัจจุบันเป็นศูนย์รวบรวมและจัดแสดงผลงานศิลปะแบบประเพณีไทยโบราณและแบบสากลร่วมสมัยของศิลปินที่มีชื่อเสียงทั้งไทยและต่างประเทศ รวมถึงจัดแสดงภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของพระมหากษัตริย์ เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสชื่นชมพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรม

บริการ

บริการนำชมเป็นหมู่คณะ (ต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม)

อัตราค่าเข้าชม
  • บัตรปลีก คนไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 200 บาท
  • บัตรรวม คนไทย 60 บาท ชาวต่างประเทศ 350 บาท
  • นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุ สามเณร และนักบวชในศาสนาต่างๆ และผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม
การติดต่อ

เลขที่ 4 ถนนเจ้าฟ้า แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ : 0-2281-2224 โทรสาร : 0-2282-8525
เวลาทำการ : วันพุธ-อาทิตย์ 09.00 – 16.00 น. ปิดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์